รีวิวหนัง คู่กรรม

คู่กรรม ฉบับปี พ.ศ. 2556 ถือเป็นหนังที่มาพร้อมกับความคาดหวัง และเป็นภาระอันหนักอึ้งของทุกภาคส่วนแห่งค่าย M๓๙ เพราะเรื่องนี้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่ค่าย M๓๙ เคยทำมา ที่หากผลลัพธ์ออกมาไม่ดีพอ ทั้งในแง่ของคำวิจารณ์จากผู้ชมและตัวเลขรายได้ก็อาจทำให้ถึงกับเสียสูญหรือ เสียความมั่นใจที่เคยสั่งสมมาได้เหมือนกัน แต่หากผลลัพธ์ไปในทางบวก คู่กรรม แห่งปี พ.ศ. 2556 ก็จะเป็นภาพยนตร์ที่ช่วยส่งให้ค่ายหนังยกระดับขึ้นไปอีกขั้น!

เราจะเห็นว่าการประชาสัมพันธ์ต่างๆ นั้น ให้ความรู้สึกเป็นหนังรักที่ไม่สมหวัง ที่ถือเป็นทิศทางการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องและเข้ากับเรื่องราวใน คู่กรรม ซึ่งจุดนี้ต้องชื่นชมทีมประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ตีโจทย์ได้แตก (อย่าลืมว่าบทประพันธ์เรื่องนี้จบด้วยโศกนาฎกรรม) แต่กับการเปิดเรื่องในหนังด้วยภาพและดนตรีอันสดใส ราวกับหนังรักวัยรุ่นจึงเป็นอะไรที่สร้างความเคลือบแคลงขึ้นมาในใจมาหนัง มุ่งไปยังทิศทางที่ถูกต้องแน่หรือ? ซีรี่ย์เกาหลี

อย่างที่ทราบว่าบทประพันธ์ คู่กรรม นั้นเป็นของ ทมยันตี นักเขียนนิยายระดับตำนานของไทย เป็นเรื่องราวความรักบนเส้นขนานระหว่างหญิงชาวไทย อังศุมาลิน (อรเณศ ดีคาบาเลส) และโกโบริ (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ลงท้ายคือโศกนาฎกรรมที่ทำให้ใครหลายคนต้องเสียน้ำตา

ซึ่งฉบับนี้ผู้กำกับ กิตติกร เลียวศิริกุล เลือกที่จะนำเสนอในแบบหนังรักเต็มรูปแบบ โดยเน้นไปที่สองพระนางและตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและหากทำได้ถึงก็จะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ให้กับ เรื่องคู่กรรม แต่กระนั้นด้วยความซับซ้อนของบทประพันธ์ ที่มีเรื่องของการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวละครหลักที่มีจำนวนพอสมควร การนำเสนอที่หวังจะมีเพียงแต่โกโบริและอังศุมาลิน ทำให้ตัวละครตัวอื่นนั้นแบนราบ!

คู่กรรมฉบับนี้เล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของโกโบริเป็น หลัก (ซึ่งหนังกำหนดทิศทางนี้มาตั้งแต่ต้นเรื่อง) และใช้เสน่ห์ของคู่พระนางได้ดี โกโบริ ดูเป็นชาวญี่ปุ่นซื่อๆ จริงใจ ในขณะที่อังศุมาลินก็ดูเป็นสาววาจาห้วนๆ เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่งในตัว แต่เมื่อเรื่องดำเนินไป บทบาทของโกโบริค่อยๆ เปล่งประกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้กำกับเน้นนำเสนอเรื่องราวในมุมของโกโบริมากกว่า

ณเดชน์มอบบทบาทการแสดงที่ยอดเยี่ยมผิดคาด กับการพูดในสำเนียงติดญี่ปุ่นและดวงตาที่สื่ออารมณ์ได้โดยไม่ต้องเอ่ยประโยคอะไร แต่กับอรเณศต้อง ถือเป็นความโชคร้ายที่การตีความบทอังศุมาลินของผู้สร้างไม่เอื้อให้เธอแสดง ศักยภาพออกมาเท่าที่ควร และในเมื่อคู่กรรมฉบับนี้เลือกที่จะเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของโกโบริเป็น หลัก (ซึ่งหนังกำหนดทิศทางนี้มาตั้งแต่ต้นเรื่อง) การใส่เสียงความคิดของอังศุมาลินเข้ามาจึงเป็นอะไรที่ขัดแย้งและไม่ได้ช่วย ให้เข้าใจตัวละครอังศุมาลินมากขึ้น

หนังมีปัญหาพอสมควรกับการลำดับเรื่องรวมถึงการลงรายละเอียดเพื่อที่จะให้ ผู้ชมเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมันมีความหมายและส่งผลต่อตัวละครในเรื่องอย่างไร จนอาจทำให้คนที่ไม่รู้จักเรื่องราวคู่กรรมมาก่อนเกิดความสงสัยว่าอะไรกำลัง เกิดขึ้นในหนัง! แม้หนังจะค่อยๆ เผยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ความรักระหว่างโกโบริและอังศุมาลินไม่สมหวัง แต่ด้วยบทภาพยนตร์ที่มีปัญหาหนังจึงไม่สามารถพาผู้ชมให้รู้สึกอินไปกับความ รักของเขาและเธอ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากพอจนเป็นที่น่าเสียดาย

อย่างไรก็ตาม หนังเป็นเจ้าของฉากสวยๆ หลายฉาก โดยเฉพาะฉากขายอย่างฉากระเบิดสะพานพุทธและฉากสถานีรถไฟบางกอกน้อยอันเป็นฉาก ปิดของเรื่อง ซึ่งองค์ประกอบฉากทำออกมาได้ดูยิ่งใหญ่ การจัดแสง การถ่ายภาพ รวมถึงเทคนิคพิเศษทำออกมาได้ดีและสมจริง ทั้งหมดเป็นส่วนเสริมสำคัญที่ทำให้คู่กรรมฉบับนี้ยิ่งใหญ่อลังการและมีงานสร้างที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของภาพยนตร์ไทย

สุดท้าย คู่กรรม ฉบับปี พ.ศ. 2556 เราไม่อาจกล่าวได้เต็มปากว่านี่คือผลงานที่ดีแต่เราก็ไม่สามารถบอกได้เช่น กันว่านี่คือผลงานที่แย่ แต่กระนั้นก็ต้องขอชมเชยกับความกล้าของผู้กำกับกิตติกร เลียวศิริกุล และทีมงานในการหยิบผลงานคลาสสิคเรื่องนี้ขึ้นมาตีความใหม่และพยายามที่จะฉีก แนวของคู่กรรมฉบับนี้ให้ต่างจากเวอร์ชั่นที่ผ่านมา แต่ผลลัพธ์ของมันที่เป็นอยู่ก็คงบอกได้เพียงว่าเป็นความพยายามที่ยังไม่สำ ฤทธิ์ผลเท่าที่ควร!

Comments

Popular posts from this blog

รีวิวหนัง : King Richard (2021)

รีวิวหนัง : Goodbye Christopher Robin

รีวิวหนัง : Two (2021) คนคู่